การอ้างอิง

สารบัญ (Contents)

การอ้างอิง แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้เขียน Essay

ต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับพื้นฐานการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay หรือ การอ้างอิง (Citation/ Reference) ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้จะประกอบไปด้วย:

1. การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay หรือ การอ้างอิง (Citation/ Reference) คืออะไร? และทำไมถึงมีความสำคัญต่อการเขียน Essay?
2. การแทรกอ้างอิงลงในเนื้อหาของ Essay
3. การใช้ Direct Quotes อย่างถูกต้อง
4. การอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการอ้างอิงแล้ว

การอ้างอิง-01การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay หรือ การอ้างอิง (Citation/ Reference) อย่างถูกต้องคือสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการเขียนเนื้อหา เพราะเป็นการให้เครดิตแก่เจ้าของเนื้อหาของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่คุณอาจหยิบเอามาใช้ในงานเขียนของคุณ ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจและความคุ้นเคยของคุณที่มีต่อแหล่งข้อมูลเหล่านั้นด้วย นักศึกษาหลาย ๆ คน ยังไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการอ้างอิงที่ถูกต้อง และอาจยังไม่รู้วิธีการสร้างความสมดุลระหว่างการค้นคว้าหาข้อมูลและการใช้ความคิดของตนเอง (using own ideas) การเรียนรู้เกี่ยวกับการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการเขียนเนื้อหาวิชาการ และยังช่วยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิด plagiarism (การโจรกรรมทางวิชาการ/ การคัดลอกผลงาน/ การขโมยความคิดของผู้อื่น) อย่างไม่ตั้งใจได้

แล้วมหาวิทยาลัยเกี่ยวอะไรใน การอ้างอิง?

มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มักจะกำหนดการใช้รูปแบบ (Style) ของการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay หรือ การอ้างอิง (Citation/ Reference) ที่แตกต่างกันไป การตรวจสอบก่อนว่ามหาวิทยาลัยที่คุณนั้นต้องการให้ใช้รูปแบบไหนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ในบทความนี้เราใช้การอ้างอิงแบบ Harvard ซึ่งเป็นการอ้างอิงรูปแบบที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด นอกจากนี้ควรค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการอ้างอิงรูปแบบต่าง ๆ จากคู่มือหรืออินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามจะขอแนะนำให้ใช้การอ้างอิงที่สอดคล้องกับรูปแบบ (Style) ที่คุณรู้จัก

การอ้างอิง-02การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay หรือ การอ้างอิง (Citation/ Reference) คืออะไร? และทำไมถึงมีความสำคัญต่อการเขียน Essay?
การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay นั้นเป็นวิธีที่ใช้สร้างกิตติกรรมประกาศให้แก่หนังสือ เอกสาร และแหล่งที่มาของเนื้อหาอื่น ๆ ทั้งในแบบที่เผยแพร่ในระบบออนไลน์ และแบบที่ได้รับการตีพิมพ์ ที่คุณได้ใช้ขณะค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเขียน Essay หรือรายงานของคุณ กิตติกรรมประกาศนี้จะทำอยู่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการแสดงในเนื้อหางาน ครั้งที่สองเป็นการอ้างอิงในส่วนท้ายของงาน หรือรายการบรรณานุกรม

การสร้างกิตติกรรมประกาศให้แก่แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเขียน Essay และจะมีรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับลักษณะการอ้างอิงในเนื้อหาอื่น ๆ ที่นำมาใช้ เนื้อหาวิชาการเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นว่าการเขียน Essay ของคุณเป็นเนื้อหาที่สำคัญที่ใช้ประกอบการเรียนในมหาวิทยาลัย การอ้างอิงแสดง “ช่วง” และ “ธรรมชาติ” ของแหล่งที่มาของเนื้อหา การอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของเนื้อหานั้นควรให้รายละเอียดเพียงพอที่จะช่วยให้ทุก ๆ คนที่อ่านบทความของคุณสามารถการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลได้ ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการนำเสนอเนื้อหาของคุณ คุณอาจเสียคะแนนหากว่าคุณระบุแหล่งที่มาของข้อมูลแบบแย่ ๆ ไป ความล้มเหลวในการให้ที่มาของแหล่งข้อมูล และการสอดแทรกความคิดเห็นและข้อมูลของคุณไปมากกว่าส่วนอื่น ๆ อาจจะถือเป็น Plagiarism การเขียน Essay เกี่ยวข้องกับการใช้หลักฐานเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างข้อโต้แย้งของคุณ ทั้งยังเป็นการแสดงความหลากหลายด้านเรื้อหาที่คุณนำมาเขียน และยังแสดงถึงความเข้าใจในสิ่งที่คุณได้อ่านและตีความ รวมถึงการแสดงความสัมพันธ์กับคำถาม Essay ที่คุณกำลังตอบ และให้การโต้แย้ง

การแทรกอ้างอิงลงในเนื้อหาของ Essay

ขณะเขียน Essay หากคุณใช้หรืออ้างถึงความคิดหรือเนื้อหาใด ๆ ในข้อมูลอื่น ๆ คุณจะต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า Citation วิธีการอ้างอิงที่ควรใช้ ประกอบด้วย:

Direct Quotes
Paraphrasing
การอ้างอิงความคิดของผู้อื่น
การอภิปรายและการวิเคราะห์ความคิดของนักเขียนท่านอื่น

ในการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลใน Essay หรือ การอ้างอิง (Citation/ Reference) แบบ Harvard นั้น โปรดสังเกตลักษณะอ้างอิงในเนื้อความของ Essay (นามสกุลของเจ้าของเนื้อหา, ปีที่จัดทำเนื้อหา, หน้าที่นำเนื้อหามาใช้ – กรณีที่ต้องระบุ) และเพิ่มรายละเอียดของข้อความในบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิง ตามตัวอย่างที่ดังต่อไปนี้:

1) Smith (2005) proposed a three stage model of memory.
2) A three stage model of memory has been proposed (Smith, 2005).

หากมีเจ้าของเนื้อหามากกว่า 12 คน ให้ใส่นามสกุลทั้งหมดในการกล่าวถึงครั้งแรก (Shahabudin, Reid & Taylor, 2007) หากมีเจ้าของเนื้อหามากกว่า 2 คน ให้ระบุ “et al.” เช่น (Shahabudin et al., 2007).)

การใช้ Direct Quotes อย่างถูกต้อง

ในวัฒนธรรมด้านวิชาการในสหราชอาณาจักรนั้น มีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับ การใช้ direct quotes อย่างถูกต้อง แพร่หลายพอสมควร เพราะที่จริงแล้วในเนื้องานควรเป็นคำพูดของผู้เขียนโดยใช้การอ้างอิงจากงานของผู้อื่นจากการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนหรือตอบโต้ แต่หากต้องใช้ direct quotes ควรใส่ไว้เป็นช่วงสั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น …
Turner (2007, 14) suggests that you should work ‘better not longer’.

การอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ได้รับการอ้างอิงแล้ว

หากเจ้าของเนื้อหาของหนังสือหรือบทความ (เจ้าของเนื้อหา A) อ้างอิงถึงเนื้อหาของเจ้าของอีกคนหนึ่ง (เจ้าของเนื้อหา B) คุณจะต้องติดตามการอ้างอิงไปยังเจ้าของเนื้อหา B

ตัวอย่างเช่น …
It has been suggested that redintegration is sensitive to item length and familiarity (Brown and Hume, 1995, การอ้างอิงd in Turner, 2000, 460).

ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหา Essay ของคุณ จะต้องถูกรวมอยู่ในการอ้างอิงส่วนท้ายสุด หรือบรรณานุกรม ในตอนท้ายของ Essay จะต้องเรียงลำดับตัวอักษรอย่างระมัดระวังให้สอดคล้องกับระเบียบมหาวิทยาลัย ที่สำคัญคือจะต้องทำให้เกิดความสอดคล้องหากมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหาที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย อาทิ จากทีวีหรือรายการวิทยุ


การอ้างอิงภาษาอังกฤษ — 6 ข้อ ที่คุณควรรู้อย่างยิ่ง

1. การอ้างอิง สำคัญอย่างไร

การอ้างอิง (Citing) และ การทำบรรณานุกรม (Bibliography) เป็นส่วนสำคัญของการเขียนเชิงวิชาการทุกชนิด เนื่องด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

ช่วยให้คุณ ซึ่งเป็นผู้เขียน หลีกเลี่ยงการโจรกรรมทางวิชาการ/ การคัดลอกผลงาน/ การขโมยความคิดของผู้อื่น (Plagiarism) เนื่องจากได้ระบุชัดเจนว่าแนวคิดใดเป็นของคุณเอง และ แนวคิดใดเป็นของผู้อื่น

ช่วยให้คุณรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมของนักเขียนท่านอื่นในงานของคุณเอง

แสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจในหัวข้อการวิจัยเป็นอย่างดี เพราะสามารถค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วยให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป (ในกรณีที่ผู้อ่านต้องการ) การแสดงหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอ้างถึงเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ผู้อ่านรู้ว่าคุณใช้แหล่งอ้างอิง ใดบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเขาต่อไป ดังนั้น การอ้างอิงจะต้องถูกต้องเสมอ ผู้อ่านจึงจะสามารถติดตามแหล่งที่มาของข้อมูลที่คุณใช้ได้ครับ

ในปัจจุบัน งานเขียนเชิงวิชาการทั้งหมด รวมถึงงานเขียนในการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มักเกี่ยวข้องกับการดึงแนวคิด คำพูด หรือ ผลงานวิจัย ของนักเขียนท่านอื่นมาใช้ประกอบการเขียนเสมอ ซึ่งต้องมีการอ้างอิงครับ

อ้างอิงภาษาอังกฤษ-003การอ้างอิง เป็นการให้เครดิตกับนักเขียนที่คุณ “ยืม” แนวคิด คำพูด หรือ ผลงานวิจัย มาครับ ฉะนั้น คุณจะต้องรับรู้ และ เคารพสิทธิ์ ในทรัพย์สินทางปัญญาของนักเขียนท่านนั้น คุณเองในฐานะนักศึกษา หรือ นักวิชาการก็ดี สามารถดึงแนวคิด ข้อมูลเชิงลึก และ ข้อโต้แย้งนับล้าน ที่ได้รับการเผยแพร่โดยนักเขียนท่านอื่นมาใช้ในงานเขียนของคุณเอง ซึ่งนักเขียนเหล่านี้อาจใช้เวลาเป็นปี ๆ (หรือหลายปี) ในการค้นคว้า และ เขียนงานเขียนของเขาขึ้นมา ฉะนั้น สิ่งที่คุณควรทำเสมอ คือ การรับรู้ถึงความทุ่มเท และ การเคารพสิทธิ์ ในทรัพย์สินทางปัญญาของเขาครับ

2. ควรใส่การอ้างอิงตอนไหนบ้าง

คุณควรใส่การอ้างอิงทุกครั้งที่นำเอา “ความคิดของผู้อื่น” มาใช้ในงานของตนเอง เมื่อใดก็ตามที่คุณใช้ความคิดจากผลงานของนักเขียนท่านอื่น เช่น บทความในวารสาร หนังสือ หรือ เว็บไซต์ คุณต้องอ้างอิงถึงผู้ที่เขียนต้นฉบับ เพื่อระบุชัดเจนว่าแนวคิดนั้นมาจากไหน ไม่ว่าคุณจะได้ถอดความ (Paraphrase), สรุป (Summarise), หรือ อ้างถึง (Direct Quote) งานใด ๆ การอ้างอิงเป็นส่วนสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนเชิงวิชาการ แม้การอ้างอิงจัดเป็นแนวทางปฏิบัติที่ตรงไปตรงมา มีกฎเกณฑ์ชัดเจน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีพื้นที่สีเทาที่คุณอาจเผลอทำผิดกฎเกณฑ์ อยู่รอบ ๆ การอ้างอิงได้ ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการประยุกต์ใช้การอ้างอิงต้องอาศัยการศึกษาและการฝึกฝนครับ

หากคุณรู้สึกสับสนว่าควรใส่การอ้างอิงตอนไหนบ้าง ต่อไปนี้คือแนวทางปฏิบัติสำคัญที่จะช่วยให้คุณทราบว่าควรใส่การอ้างอิงถึงตอนไหนบ้างครับ

อ้างอิงทุกครั้งเมื่ออ้างถึงแนวคิด คำพูด หรือ ผลงานวิจัย โดยตรง (Directly Quote) ข้อนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เข้าใจได้ง่ายสุดครับ หากคุณอ้างถึงข้อมูลใด ๆ แบบ “คำต่อคำ” ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดรอบคำเหล่านั้น และต้องอ้างอิง/ ให้เครดิตกับผู้ที่เขียนต้นฉบับ ถ้าไม่ทำแบบนี้ คุณกำลังทำให้ผู้อ่านเชื่อว่าคำเหล่านี้เป็นเป็นของคุณเอง เข้าข่าย Plagiarism เลยครับ ดังนั้น ทุกครั้งเมื่ออ้างถึงแนวคิดของผู้อื่น จากแหล่งอ้างอิงใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความในวารสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ โบรชัวร์ ภาพยนตร์ สารคดี รายการโทรทัศน์ โฆษณา เว็บไซต์ แหล่งอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ จดหมาย อีเมล กระดานสนทนาออนไลน์ การสัมภาษณ์ หรือ แม้กระทั้งคำพูดของอาจารย์ หรือ ผู้สอน ตลอดจน ไดอะแกรมต่าง ๆ ชาร์ต หรือ รูปภาพ เป็นต้น

อ้างอิงทุกครั้งเมื่อทำการถอดความ (Paraphrase) หรือ สรุป (Summarise) ข้อนี้อาจเป็นแนวทางปฏิบัติที่เข้าใจยากอยู่เหมือนกันครับ การถอดความและการสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติสองประการที่เกี่ยวข้องกัน แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว การถอดความ หมายถึง คุณนำข้อความของผู้เขียนต้นฉบับมาเขียนใหม่ (Rewrite) ด้วยคำพูดของคุณเอง การสรุป หมายถึง คุณอ่านข้อความ พิจารณาประเด็นหลัก และ สรุปสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ด้วยข้อความที่สั้นลง (กว่าต้นฉบับ) ในการถอดความและการสรุป คุณจะต้องมีทักษะการเขียนที่ดี และ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเนื้อหาที่คุณกำลังศึกษาอยู่ การถอดความและการสรุปอาจเป็นเรื่องยากได้หากคุณเป็นนักเขียนระดับเริ่มต้น แต่ทักษะเหล่านี้จะง่ายขึ้นเองด้วยการฝึกฝนครับ

อ้างอิงทุกครั้งเมื่อกล่าวถึง “สิ่งที่เป็นที่ถกเถียงได้” (Highly Debatable Information) แม้จะเป็นแนวคิดของตนเองก็ตาม ตัวอย่างเช่น หากคุณอ้างว่าพระราชบัญญัติหนึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักการเมือง คุณจะต้องยกตัวอย่างโดยการอ้างอิงว่าผู้เชี่ยวชาญพูดถึงหัวข้อนี้อย่างไร

3. ไม่ต้องใส่การอ้างอิงตอนไหนบ้าง

ตอนนี้พอจะทราบแล้วใช่ไหมครับ ว่าควรใส่การอ้างอิงทุกครั้งที่ได้นำเอาความคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนเอง คราวนี้ มาดูกันครับว่า มีตอนไหนบ้างที่คุณไม่จำเป็นต้องใส่การอ้างอิง

ประการแรกเลย คุณไม่จำเป็นต้องใส่การอ้างอิงเมื่อสิ่งที่คุณพูดถึงนั้นเป็น “ความเข้าใจของตนเอง” ในหลาย ๆ ครั้ง คุณอาจจะต้องเขียนเกี่ยวกับความคิดเห็นของตนเองและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้เรียนรู้มา แม้คุณต้องอ้างอิงหลาย ๆ แหล่งอ้างอิงที่ช่วยให้คุณเรียนรู้ แต่เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง คุณต้องเขียนเกี่ยวกับความคิดเห็นของตนเอง เช่น บทสรุป หรือ ข้อมูลเชิงลึก (Insights) เกี่ยวกับงาน ในจุดนี้ คุณไม่จำเป็นต้องใส่การอ้างอิง การไม่อ้างอิงดังกล่าวสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นว่าเนื้อหาส่วนนี้เป็นผลงานที่คุณเขียนขึ้นด้วยตนเอง

ประการต่อมา คุณไม่จำเป็นต้องใส่การอ้างอิงเมื่อเขียนถึง “ความรู้ทั่วไป” (ซึ่งบางครั้งแยกแยะได้ยากอยู่เหมือนกันครับ) โดยทั่วไปแล้ว ข้อเท็จจริง เช่น วันที่หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือ ข้อมูลที่ทุกคนคุ้นเคย (ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก) ไม่จำเป็นต้องได้รับการอ้างอิง เพราะเป็นความรู้ทั่วไป ที่ใคร ๆ ก็รู้ แนวทางที่จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจว่าจะอ้างอิงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ แหล่งข้อมูลหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ควรอ้างอิงครับ ความยากในการตัดสินใจอีกประการหนึ่งคือ บางความรู้ใหม่ ๆ อาจเป็นความรู้ทั่ว ๆ ไปของผู้เชี่ยวชาญ แต่คนทั่วไปอาจจะไม่รู้ คุณจึงต้องใช้วิจารณญาณ

4. ข้อมูลที่ปรากฏในหลายแหล่งอ้างอิง

ประเด็นแรก ข้อนี้มีความเกี่ยวข้องกับข้อ 3 ครับ บางข้อมูล แม้จะปรากฏอยู่ในหลาย ๆ แหล่งอ้างอิง อาจเป็นข้อมูลเฉพาะทาง ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่คนทั่วไปคุ้นเคย ซึ่งต้องได้รับการอ้างอิง

ประเด็นต่อมา นักวิชาการหลายท่านแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ก็ ควรหลีกเลี่ยงแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ (Secondary Source) หมายถึงว่า หากคุณพบว่ามีการอ้างอิง หรือ การถอดความข้อมูลใดๆ คุณควรติดตามแหล่งที่มาของต้นฉบับ หรือ แหล่งอ้างอิงระดับปฐมภูมิ (Primary Source) เพื่อให้ตนเองได้อ่านทำความเข้าใจและอ้างอิงโดยตรง ว่าแต่ แล้วทำไมต้องติดตามแหล่งที่มาของต้นฉบับด้วยล่ะครับ ในเมื่อคุณมี Secondary Source ที่มีข้อมูลผู้เขียนอยู่แล้ว? เหตุผลคือ ในการอ่านต้นฉบับ คุณจะสามารถตรวจสอบได้ว่าบริบทของการอ้างอิงใน Secondary Source สนับสนุนประเด็นที่คุณต้องการหรือไม่ มีหลายครั้งที่ข้อมูลใน Secondary Source มีบริบทที่แตกต่างจากต้นฉบับ ประการที่สอง การค้นหาและอ่านต้นฉบับจะช่วยให้คุณจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อการวิจัยที่ก้าวขึ้น เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับงานวิจัยในหัวข้อนี้

5. Reference Style สำหรับใช้ใน การอ้างอิง

คุณอาจคุ้ยเคยการ Reference Style หรือ รูปแบบการอ้างอิง แบบ APA (American Psychological Association) หรือ Harvard หรือ MLA (Modern Language Association) เช่น APA/ Harvard ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสาขาสังคมศาสตร์ การศึกษา วิศวกรรม เป็นต้น MLA ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสาขามนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ปรัชญา เพลง ศาสนา ภาษาศาสตร์ เป็นต้น ในขณะที่ Chicago/ Turabian ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสาขาประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือ สังคมศาสตร์ แต่คุณทราบไหมครับว่า มี Reference Style อีกมากมายเลย ที่คุณอาจจะยังไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ใช้ เช่น

ABNT – Associação Brasileira de Normas Técnicas
ACM – Association for Computing Machinery
ACS – American Chemical Society
AMA – American Medical Association
ASA – American Sociological Association
Chicago/ Turabian – Chicago Manual of Style
CSE – Council of Science Editors
IEEE
LNCS – Lecture Notes in Computer Science
MHRA – Modern Humanities Research Association
OSCOLA– Oxford University Standard for the Citation of Legal Authorities
SIST02
Vancouver

6. Reference Style ที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด

APA คือ Reference Style ที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในเกือบทุกสาขาวิชาครับ เช่น การสื่อสารและสารสนเทศศาสตร์ การศึกษา วิศวกรรมและเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาการจัดการ วิทยาศาสตร์กายภาพ เกษตรศาสตร์ และ ศิลปะ เป็นต้น


วิธีใส่ การอ้างอิง ในเนื้อหา และ ทําเอกสารอ้างอิง  

สร้าง In-text Citations และ References List/ Bibliography ด้วย Microsoft Word

แม้คุณอาจจะเขียน Draft บนกระดาษ แต่เมื่อคุณเริ่มเขียน Final Draft ผมเชื่อว่าคุณจะเขียนในคอมพิวเตอร์ด้วยซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software) ครับ ในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำมีอยู่หลายอย่าง เช่น Microsoft Word, Google Docs, Apple iWork (Pages), AbiWord, Dropbox Paper, และ LibreOffice (Writer) เป็นต้น

Microsoft Word หรือ ที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ “Word” เป็นผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำหลักของ Microsoft เป็นส่วนสำคัญของชุดผลิตภัณฑ์ Microsoft Office และ เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก

Microsoft Word เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่มี Function สร้างการ อ้างอิงภาษาอังกฤษ (ภาษาไทยก็ได้เช่นกันครับ) คุณสามารถใส่การอ้างอิง/ Reference โดยใช้ Microsoft Word ได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ In-text Citations หรือการสร้างรายการเอกสารอ้างอิง (References List) หรือ บรรณานุกรม (Bibliography) Microsoft Word รองรับ Reference Style เกือบทั้งหมดเลยครับ เช่น APA, Harvard หรืออื่น ๆ ที่เป็นที่นิยม แต่ยังมี Reference Style บางชนิดที่ Microsoft Word เช่น ABNT, ACM, ACS, AMA, ASA, CSE, IEEE, LNCS, MHRA, Nature, และ Vancouver แต่สามารถ Download มาเพิ่มเองได้ครับ

ศึกษาวิธีการทําอ้างอิงใน Word ทั้ง In-text Citations และ References List/ Bibliography ที่นี่ ครับ


ข้อมูลอ้างอิง

Ajibola, T. & Issa, A., 2020. Assessment of in-Text Citations and Referencing Styles Adopted in Theses Submitted to University of Ilorin Postgraduate School Between 2010 and 2016. International Journal of Research in Library Science, 6(1), pp. 117-138. doi: 10.26761/IJRLS.6.1.2020.1312.
Lee, C., 2010. How to Cite Something You Found on a Website in APA Style. [Online]
McAdoo, T., 2010. Secondary Sources. [Online]
Mendeley Ltd, 2017. How To Cite a Website. [Online]
University of Reading, 2007. Using References in Your Work. [Online]

University of Washington Libraries, 2015. Citation Styles & Tools: Which citation style should I use?. [Online]

 


อ้างอิงภาษาอังกฤษ-001บทความโดย ทีมนักเขียน HW
Academic Writing Experts
LINE id: @orderwork

🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

HW ให้บริการ รับเขียน Essay ทุกชนิด
ติดต่อสั่งงาน – สอบถามเกี่ยวกับบริการ
LINE id: @orderwork | 💬 Live Chat คลิ๊กที่นี