จุดจบของการเขียน Essay ในรั้วมหาวิทยาลัย

จุดจบของการเขียน Essay ในรั้วมหาวิทยาลัย

ที่มา Slate.com แปลและเรียบเรียง โดย ทีมนักเขียน HW – จุดจบของการเขียน Essay

นักศึกษาในมหาวิทยาลัยทุกคนไม่ชอบงานเขียน Essay หรือ Paper สักเท่าใดนัก (บางคนอาจเกลียดไปเลยก็ได้) บางคนไม่ชอบจนกระทั่งต้องซื้อ ยืม หรือแม้กระทั่งโจรกรรมทางวิชาการ/ คัดลอกผลงาน/ หรือ ขโมยความคิดของคนอื่น (Plagiarism) เป็นเรื่องธรรมดามากในขณะนี้ ธรรมดามากเสียจนถ้าให้ปรับให้นักศึกษาทุกคนที่เคยคัดลองผลงานสอบตก ก็จะพบว่าตัวเลขที่ได้เลวร้ายยิ่งกว่า MOOC เสียอีก ในบางครั้งที่นักศึกษาระดับปริญญาตรียอมเขียน Essay หรือบทความด้วยตัวเอง เขามักจะตัดพ้อประมาณว่า “ผมต้องตื่นมาเขียนผลงานชิ้นเอกนี้ตั้งแต่ตี 4 หัวรุ่ง แถมยังต้องนำ “ข้อโต้แย้ง” ต่างๆ ที่มีความสอดคล้องกันมาอ้างถึงให้ชัดเจน นอกจากนี้ผมยังต้องจัดรูปแบบเอกสารให้ถูกต้องตามทอาจารย์ต้องการ ต้องเขียน Essay ให้ครบตามจำนวนคำที่กำหนด หัวข้อ Essay ที่ว่าไปนี่ก็คือ ‘ทัศนคติเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา’ ผมรู้สึกซาบซึ้งใจจริงๆ ที่อาจารย์ให้ผมเขียน Essay เรื่องนี้ ผมมีความรู้เพิ่มพูดขึ้นมากจริงๆ! (ออกแนวประชด)”

จุดจบของการเขียน Essay

ถึงแม้นักศึกษาจะไม่ชอบงานเขียนมากแค่ไหน แต่คุณรู้ไหมว่าอาจารย์ผู้ตรวจเกลียดการตรวจงานเขียนมากกว่านั้นอีก! (และการใช้หุ่นยนต์ไม่ใช่คำตอบที่ดีในเรื่องนี้) “นักศึกษาเทวดาเอ๋ย ดูสิ นักศึกษายอมสละเวลาตั้ง 45 นาที (ที่สามารถนำไปทำอะไรต่อมิอะไรอย่างอื่นได้) มานั่งเขียน Essay ส่งอาจารย์ แล้วก็เขียนออกมาแบบว่า อ้างอิงประโยคใน The Sun Also Rises สองประโยค เขียนสรุป 4 ประเด็นซ้ำๆ กัน 50 ครั้งจนครบ 5 หน้า แล้วสรุปใน Conclusion ด้วย 2 ประโยคเนี่ยนะ? แล้วรู้ไหม อาจารย์ต้องใช้เวลากว่า 15 ชั่วโมงเพื่อตรวจงานของนักศึกษา ซึ่งเป็น “วิทยานิพนธ์ที่แสนจะอ่อนแอ” ซึ่งอาจารย์สามารถมองด้วยสายตามคร่าวๆ จากนั้นก็ให้เกรดเหมือนๆ เด็กชั้นประถม แล้วโยนกระดาษทิ้ง!